[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
   
ผู้ที่สนใจสมัครเรียน สามารถคลิกเข้าไปที่ สมัครเรียนเมนูซ้ายมือ เพื่ออ่านรายละเอียดได้ครับ//ใช้ Internet Explorer ในการเปิดเว็บไซต์ เพื่อการแสดงผลที่ถูกต้อง
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : ทำความรู้จัก “บอคเซียร์” กีฬาที่สร้าง “ฮีโร่ไทย”ดังกระฉ่อนโลก

พฤหัสบดี ที่ 4 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555

คะแนน vote : 285  

ทำความรู้จัก “บอคเซียร์” กีฬาที่สร้าง “ฮีโร่ไทย”ดังกระฉ่อนโลก


 
เดินทางกลับมาถึงเมืองไทยด้วยการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากคนไทยทั้งประเทศกว่าครั้งใดสำหรับ “ฮีโร่ไทย” ที่สร้างชื่อเสียงของกับประเทศไทยใน “พาราลิมปิกเกม 2012” ที่ลอนดอน ซึ่งนักกีฬาคนพิการของไทยคว้ามาได้ 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทดอง ในพาราลิมปิกที่ลอนดอนครั้งนี้ ทำให้คนไทยเริ่มรู้จักกีฬา “บอคเซียร์” มากขึ้น ผู้ที่ไม่เคยรู้จัก ก็เพิ่งจะมารู้จักเป็นหนแรก เพราะฮีไร๋ของไทยคว้ามาได้ถึง 2 เหรียญทองในการชิงชัยระดับโลกครั้งนี้ โดยเฉพาะนายพัทธยา เทศทอง ฮีโร่ของไทยที่สร้างชื่อให้แก่ประเทศไทย และให้คนไทยทุกคนรู้จักกีฬา “บอคเซียร์” มากยิ่งขึ้น

จากความสำเร็จของนักกีฬาคนพิการที่ต้องฝึกซ้อมอย่างยากลำบากกว่านักกีฬาทั่วไป ทำให้กีฬาบอคเซียร์เป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่คนอยากรู้กฎกติกาและระเบียบการแข่งขันมากที่สุดในตอนนี้ กีฬาบอคเซีย มีลักษณะการเล่นคล้ายเปตอง คือ แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายพยายามโยน กลิ้ง ขว้าง เตะ หรือปล่อยลูกบอลสีแดง หรือสีน้ำเงินไปตามราง (ตามลักษณะความพิการ) เพื่อให้ลูกเข้าไปใกล้ลูกเป้าหมายสีขาว ให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด บนพื้นสนามเรียบ ฝ่ายใดมีบอลใกล้มากกว่า เป็นฝ่ายชนะ

วิธีการแข่งขัน เริ่มต้นด้วยการเสี่ยงเหรียญ ฝ่ายใดชนะการเสี่ยงจะได้สิทธิ์ในการเลือกจะเป็นฝ่ายโยนบอลเข้าสนามก่อน หรือหลัง ฝ่ายโยนบอลก่อนจะได้บอลสีแดง และถูกกำหนดให้อยู่ในช่องหมายเลข 3 ประเภทบุคคล ช่องหมายเลข 2 และ 4 ประเภทคู่ และช่องหมายเลข 1, 3 และ 5 ในประเภททีม ตามลำดับ และได้รับสิทธิ์ในการโยนลูกเป้าหมาย (สีขาว) เข้าสนามก่อน โดยโยนให้ลูกเป้าหมายอยู่ในสนามเหนือเส้น V

จากนั้นจึงเริ่มโยนลูกสีแดง (ก่อนโยนลูกทุกครั้งจะต้องได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสินก่อน) จากนั้นฝ่ายตรงข้ามจะได้รับสัญญาณให้โยน ผู้ตัดสินจะเป็นผู้ให้สัญญาณป้าย โดยพิจารณาว่าสีใดอยู่ห่างจากลูกเป้าหมายมากกว่า เช่นเดียวกับ เปตอง โดยโยนจนกว่าจะครบฝ่ายละ 6 ลูก หรือหมดเวลาตามกำหนด เรียกว่าจบ 1 จบ จากนั้น จึงนับคะแนนในจบนั้น และเริ่มแข่งขันจบใหม่ ปฏิบัติเช่นนี้จนครบตามกติกา นับคะแนนรวม ฝ่ายใดได้มากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ

แบ่งประเภทการแข่งขันออกเป็น 7 ชนิด คือ 1.ประเภทบุคคล BC1 2.ประเภทบุคคล BC2 3.ประเภทบุคคล BC3 4.ประเภทบุคคล BC4 5.ประเภทคู่ BC3 คู่ละ 2 คน มีนักกีฬาสำรองได้ 1 คน 6.ประเภทคู่ BC4 คู่ละ 2 คน มีนักกีฬาสำรองได้ 1 คน 7.ประเภททีม (BC1+BC2) ทีมละ 3 คน ขณะแข่งขันจะต้องมีนักกีฬาประเภท BC1 อย่างน้อย 1 คน มีนักกีฬาสำรองได้ 1-2 คน ประเภท BC1 เป็นการเล่นสำหรับผู้พิการทางสมอง ตามการแบ่งประเภทของ CP-ISRA ระดับ CP1 (L) ผู้เล่นสามารถมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน ซึ่งนั่งอยู่ทางด้านหลังเขตโยนประมาณ 2 เมตรในที่กำหนดให้ ซึ่งสามารถมาด้านหน้าและช่วยเหลือนักกีฬาตามที่ผู้เล่นร้องขอ เช่น ปรับหรือจัดเก้าอี้ของผู้เล่นให้มั่นคงส่งบอลให้ผู้เล่น หรือคลึงบอลตามที่นักกีฬาร้องขอและได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน ประเภท BC2 เป็นการเล่นสำหรับผู้เล่นซึ่งพิการทางสมอง ตามการแบ่งประเภทของ CP - ISRA ระดับ CP2 (U) ผู้เล่นไม่มีสิทธิมีผู้ช่วยเหลือในการเล่น

ประเภท BC3 (ผู้เล่นใช้อุปกรณ์ช่วย) เป็นการเล่นสำหรับผู้เล่นที่แขนขาทั้งสี่เคลื่อนไหวยากลำบากมาก มีสาเหตุมาจากสมอง และไม่ใช่สมอง ผู้เล่นไม่สามารถเข็นรถได้เอง และมีการช่วยเหลือด้วยรถเข็นไฟฟ้า ผู้เล่นจะไม่สามารถจับหรือปล่อยได้ แต่สามารถเคลื่อนไหวแขนได้ แต่มีข้อจำกัดในการผลักดันบอลเข้าสู่สนาม ผู้เล่นแต่ละคนได้รับอนุญาตให้มีผู้ช่วยเหลือได้ แต่ผู้ช่วยเหลือจะต้องอยู่ในเขตโยน (box) ของผู้เล่น และหันหลังให้สนาม ห้ามมองการเล่น

ประเภท BC4 เป็นการเล่นสำหรับผู้ที่แขนขาทั้งสี่เคลื่อนไหวได้ลำบากร่วมกับการควบคุมการ เคลื่อนไหวลำตัวได้ยาก สาเหตุจากการสั่งการของส่วนที่ไม่ใช่สมอง หรือการเสื่อมของสมอง ผู้เล่นจะมีความสามารถเพียงพอที่จะโยนแขนแกว่งลูกบ็อกเซียเข้าสนาม แต่จะต้องใช้เวลามาก ในการจับและปล่อยบอล ขาดความนุ่มนวล และความเร็วในการเคลื่อนไหว และอาจสังเกตเห็นได้ในคราวเดียวกัน ผู้เล่นจะไม่ได้รับสิทธิ์ใช้ผู้ช่วยเหลือได้

สนามแข่งขัน มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 12.5 เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนท้ายสนามแบ่งเป็น 6 ช่อง สำหรับผู้แข่งขันใส่หมายเลขที่ช่อง 1-6 จากซ้ายไปขวา มีเขตรูปตัว (V) เป็นเขตห้ามลูกเป้าหมายอยู่บริเวณนี้ เมื่อเริ่มการแข่งขัน (ด้านหน้าช่อง) และเส้นกากบาท (+) อยู่กึ่งกลางสนามสำหรับวางลูกเป้าหมายเมื่อถูกกระแทกออกนอกสนาม มีอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขันดังนี้ 1.ลูกบอลสีแดง สีน้ำเงิน และสีขาว ทำด้วยหนังแท้หรือหนังเทียมเย็บ ขนาดเส้นรอบวงขนาด 270 + 8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 275 + 12 กรัม ขนาดใกล้เคียงลูกเปตอง (ลูกสีแดงและน้ำเงินสำหรับผู้เล่นแต่ละฝ่าย ซึ่งมีฝ่ายละ 6 ลูก บอลขาว มีจำนวน 1 ลูก เรียกว่าลูกเป้าหมาย) 2.ป้ายบอกสัญญาณสีแดงและน้ำเงิน ใช้สำหรับแจ้งบอกสีที่เป็นฝ่ายส่งบอลเข้าสนาม 3.สายวัด สำหรับวัดระยะห่างลูกบอลสี จากลูกเป้าหมาย 4.กล่องหรือถาดสำหรับใส่บอลเสีย (บอลที่ออกนอกสนามหรือเล่นผิดกติกา)

ด้านเวลาที่ใช้ทำการแข่งขัน ในแต่ละประเภทจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ประเภทบุคคล BC1, BC2 และ BC4 ใช้เวลา 5 นาที/คน/จบ แข่งขันจำนวน 4 จบ ประเภทบุคคล BC3 ใช้เวลา 6 นาที/คน/จบ แข่งขันจำนวน 4 จบ ประเภทคู่ (BC3) ใช้เวลา 8 นาที/คู่/จบ แข่งขันจำนวน 4 จบ และประเภททีม (BC1 และBC2) ใช้เวลา 6 นาที/ทีม/จบ แข่งขันจำนวน 6 จบ โดยจะมีกติกาที่ห้ามลืมเป็นอันขาดคือ 1.ขณะโยนลูกบอลเข้าสนาม ห้ามร่างกาย (หรืออุปกรณ์ช่วย) สัมผัสเส้นสนาม 2.ขณะโยนลูกบอล สะโพกของผู้เล่นจะต้องสัมผัสเก้าอี้ 3.ห้ามรบกวนคู่ต่อสู้ไม่ว่ากรณีใดๆ (ยกเว้นอาการธรรมชาติ) 4.ผู้ช่วยนักกีฬาประเภท BC3 ห้ามหันหน้าเข้าสนามจนกว่าจะแข่งขันจบนั้นจนแล้วเสร็จ 5.ในระหว่างการแข่งขันห้ามกระทำการใด ๆ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน 6.มีการลงโทษฝ่ายละเมิดกติกา โดยให้ฝ่ายตรงข้ามโยนบอลพิเศษ (คราวละ 2 ลูก) 7.มีการแข่งขันพิเศษ (ไท-เบรก) กรณีคะแนนเท่ากัน

ขึ้นชื่อว่ากีฬานอกจากเรื่องของการแพ้ชนะแล้ว การมีน้ำใจนักกีฬาและมารยาทในการแข่งขันก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ทุกการแข่งขันสร้างความประทับใจ และความสุขให้กับผู้เข้าแข่งขัน รวมถึงคนที่คอยเชียร์มากยิ่งขึ้น.


เข้าชม : 4461


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      สธ.ยันวัคซีนมีคุณภาพสูงไม่ทำให้ตาบอด 20 / ก.พ. / 2556
      แจ้งจับสองผัวเมียตุ๋นคนพิการร่วมลงทุนลอตเตอรี่สูญ ๑๗ ล้าน 7 / พ.ย. / 2555
      สหรัฐฯรับรอง \"ยาป้องกันเอดส์\" 24 / ต.ค. / 2555
      ทำความรู้จัก “บอคเซียร์” กีฬาที่สร้าง “ฮีโร่ไทย”ดังกระฉ่อนโลก 4 / ต.ค. / 2555
      ผลวิจัยเผยกินยาพาราฯประจำเสี่ยงหูหนวก 19 / ก.ย. / 2555


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ถนนถีนานนท์  ตำบลตลาด  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  44000  โทรศัพท์ 043-722420
E-mail :
muang@sarakham.nfe.go.th
Edit by : Wattanapong Tabthanee
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี